อุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับกล้อง

 

นอกจากส่วนประกอบที่สำคัญ ๆ อันเป็นพื้นฐานของกล้องถ่ายรูปแล้วอาจต้องการใช้อุปกรณ์ อื่น ๆประกอบเพื่อให้ การถ่ายรูปมีคุณภาพยิ่ง อุปกรณ์ต่าง ๆ มีดังนี้ คือ


         1. เครื่องวัดแสง (Exposure light meter) เป็นเครื่องมือที่ช่วยบอกลักษณะของแสงที่พอเหมาะในการถ่ายรูป แต่ละครั้งเพื่อให้ได้ภาพที่พอดี (Nor-mal) นั่นคือ จะบอกหน้ากล้องหรือขนาดของรูรับแสงที่พอเหมาะ และความเร็ว ชัดเตอร์ที่ควรใช้อันสัมพันธ์กับแสงสอดคล้องกับความมุ่งหมายการถ่ายรูปนั้น ๆ โดยปกติกล้องถ่ายรูประดับปานกลาง ถึงระดับดี จะมีเครื่องวัดแสงนี้ติดมาพร้อมกับกล้องอย่างไรก็ตาม อาจจำเป็นที่ต้องมีเครื่องวัดแสงเฉพาะสำหรับ งานบางอย่างก็ได้


         2. ขาตั้งกล้อง (Tripod, Camera Supports) เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นในการถ่ายรูปที่ต้องใช้ความไวช้า ๆ หรือถ่ายรูปกลางคืนเพราะจะทำให้กล้องมั่นคงได้ภาพที่ไม่ไหวปกติขาตั้งกล้องมีลักษณะ 3 ขา (Tripod) ในบางครั้งอาจใช้ขาเดียว Monopod) รับน้ำหนักก็ได้ หรือมีลักษณะเป็นแท่นรองรับก็สุดแล้วแต่จุดมุ่งหมาย


         3. แว่นกรองแสง (Filters) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบกับเลนส์เพื่อให้ได้ภาพที่สวยงามแตกต่างไปจากภาพปกติ ในการถ่ายรูปสีแว่นกรองแสงจะช่วยควบคุมแสง แก้ไขสีเพิ่มสีและทำภาพพิเศษอื่น ๆ ได้ตามความต้องการในบางชนิด เช่น สกายไลท์ (Skylight) ช่วยป้องกันเลนส์ไม่ให้สกปรกหรือเกิดรอยขีดข่วนได้สำหรับการถ่ายรูปขาวดำ ฟิลเตอร์หรือ แว่นกรองแสงก็จะช่วยในการเน้นจุดสนใจของภาพให้ดียิ่งดีขึ้นซึ่งปกติฟิลเตอร์ที่ใช้กับงานถ่ายรูปขาวมีนิยมอยู่
5 สีด้วยกัน คือ สีเหลือง สีส้ม สีแดง สีน้ำเงิน และสีเขียว

         4. สายลั่นไก (Shutter Release Cable) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ต่อเข้ากับปุ่มลั่นไกช่วยลั่นไกชัดเตอร์ โดยให้กล้องรับการกระทบกระเทือนน้อยที่สุดในกรณีที่ตั้งความไวชัดเตอร์ต่ำ ๆ ปกตินิยมใช้กับการถ่ายรูป วัตถุเล็ก ๆ หรืองานก้อบปี้ ตลอดจนการถ่ายรูปกลางคืน (Night Picture) เมื่อจำเป็นต้องใช้ความไวชัดเตอร์ต่ำ ๆ สายลั่นไก มีความยาวหลายขนาด และบางชนิดอาจมีล็อกเพื่อให้การเปิดหน้ากล้องนาน ๆ ตามต้องการได้

         5. ไฟแฟลชอิเลคโทรนิค (Electronic Flash) เป็นอุปกรณ์ที่เป็นแหล่งของแสงสว่างเพื่อช่วยถ่ายรูป เมื่อแสงไม่พอ เช่น ถ่ายรูปในเวลากลางคืนหรือในห้องที่ไม่ค่อยมีแสงสว่าง นอกจากนั้นอาจใช้ไฟแวบนี้ ช่วยลดเงาเมื่อถ่ายภายในแสงหลักที่สว่างมาก ๆ นอกจากนั้นอาจใช้แหล่งแสงสว่างอื่น ๆ แทนไฟแวบได้ เช่น ไฟส่อง (Flood) แบบที่ใช้ในห้องถ่ายรูป หรือพวกไฟที่ใช้กับโทรทัศน์ภาพยนตร์ที่เรียกว่าซันกัน (Sun Gun) ก็ได้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

6. เลนส์ ฮูด (Lense Hood) เป็นอุปกรณ์ ที่ไม่มีแก้วเหมือนเลนส์ชนิดอื่น ๆ แต่เป็นเพียงกรอบ หรือขอบเพื่อสวมเข้าหน้าเลนส์ เพื่อกันการสะท้อนของแสง หรือแสงส่องเฉียงที่ไม่ต้องการมากระทบผิวหน้าเลนส์ เลนส์ฮูดอาจทำด้วยโลหะ หรือยางมีขนาดแตกต่างกันตามความยาวโฟกัสของเลนส์และรัศมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ของเลนส์ที่ใช้


        7. กระเป๋ากล้อง ( Case) เป็นอุปกรณ์ที่ควรจะสวมใส่กล้องไว้ตลอดเพราะป้องกันการขูดขีดของตัวกล้อง และเลนส์เป็นอย่างดี ยิ่งกว่านั้นป้องกันการ กระทบกระเทืยนได้อีกด้วยกระเป๋ากล้องอาจเป็นหนังชนิดแข็งหรืออ่อนก็ได้


        8. เครื่องขับเคลื่อนฟิล์มโดยอัตโนมัติ (Motor Drive,Autowinder) อุปกรณ์ชิ้นนี้อาจไม่จำเป็นในการถ่ายรูปปกติ เพราะมีเวลาในการเลื่อนฟิล์มด้วยตนเอง แต่สำหรับงานอาชีพที่ต้องการบันทึกภาพติดต่อกันในเวลาสั้น ๆ ถ้ามัวเคลื่อนฟิล์มอยู่อาจพลาดภาพนั้น ๆ ได้ดังนั้นจึงมีอุปกรณ์ที่เลื่อนฟิล์มโดยอัตโนมัตินี้ โดยผู้ใช้เพียงกดปุ่มถ่ายภาพ ฟิล์มจะเลื่อนโดยอัตโนมัติ บางชนิดจะเลื่อนวินาทีละ 5 ภาพหรือบางชนิดอาจต่ำกว่านั้น

         9. กระเป๋าเก็บกล้อง และอุปกรณ์อื่น ๆ (Baggage) เป็นกระเป๋าเอนกประสงค์ที่สามารถบรรจุกล้องและอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ นำไปใช้ถ่ายรูปได้ นอกจากนั้นยังช่วยป้องกันการกระแทกได้เป็นอย่างดี และสามารถเก็บกล้อง และรักษาฟิล์มได้ด้วย กระเป๋าบางชนิดอาจทำเป็นกล่องอะลูมิเนียมบุด้วยฟองน้ำกันการกระเทือน บางชนิดทำด้วยผ้าร่มสักหลาดหรือผ้าใบ และบางชนิดสามารถป้องกันน้ำเข้าไปในกระเป๋าได้