เทคนิคการถ่ายภาพ

DEPTH OF FIELD

การถ่ายภาพลักษณะนี้เพื่อเน้นระยะชัด ผู้ถ่ายภาพต้องเข้าใจการกำหนดค่าของรูรับแสงของเลนส์  เพื่อให้ได้ภาพตามต้องการ

ค่าของรูรับแสง  มีตั้งแต่กว้างสุดคือ 1.2  4  5.6  8  11  16  22  ค่าตัวเลขยิ่งน้อยรูรับแสงยิ่งกว้าง  ระยะชัดของภาพจะสั้นลง  หรือที่เรียกว่า "ชัดตื้น"  ในขณะเดียวกัน  ค่าของตัวเลขยิ่งมาก  รูรับแสงจะแคบลง  ยิ่งแคบมากเท่าใดก็ยิ่งทำให้ภาพเกิดระยะชัดมากยิ่งขึ้นเท่านั้น

แต่ข้อควรระวัง คือ ยิ่งเปิดรูรับแสงแคบลงเท่าใจ  จะได้ความเร็วชัตเตอร์ที่ช้าลง  อาจทำให้กล้องสั่นไหวได้ง่าย  ควรใช้ขาตั้งกล้องช่วยเพื่อให้กล้องนิ่งยิ่งขึ้น

ภาพที่ 1 เปิดรูรับแสง F 1.2 ความเร็วชัตเตอร์ 1/1000 วินาท

ภาพที่ 2  เปิดรูรับแสง F 22 ความเร็วชัตเตอร์ 1/60 วินาที

 

 

LAND SCAPE

หรือการถ่ายภาพภูมิทัศน์  นิยมถ่ายด้วยเลนส์มุมกว้าง  เพื่อให้เห็นพื้นที่ในบริเวณกว้าง  แต่ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการ  โดยปกใช้เลนส์มาตรฐานก็ได้เช่นกัน  การถ่ายภาพลักษณะนี้ควรใช้รูรับแสงที่แคบเพื่อให้เกิดระยะชัดมากที่สุด  ควรคำถึงถึงฉากหน้า ฉากหลังของภาพ และการวางจุดสนใจ  หรืออาจใช้อุปกรณ์เสริมอื่นๆ เช่น ฟิลเตอร์โพราไรซ์ เพื่อให้สีของภาพอิ่มตัวขึ้น  ท้องฟ้าเข้มขึ้นทำให้ภาพน่าสนใจ

หอประชุมกาญจนภิเษก  มหาวิทยาลัยขอนแก่น  มีเสาธงป็นเส้นนำสายตา

ใช้ฟิลเตอร์โพราไรซ์ ท้องฟ้าจึงเข้มขึ้น

 

 

STOP ACTION

เป็นเทคนิคการใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูง  เพื่อให้ภาพที่เคลื่อนไหวดูหยุดนิ่ง  โดยใช้ตั้งแต่ 1/250 วินาทีขึ้นไป  ขึ้นอยู่กับความเร็วในการเคลื่อนที่ผ่านหน้าเลนส์ของวัตถุ

การถ่ายภาพลักษณะนี้ต้องวางแผนให้ดี  ปรับโฟกัสและวัดแสงไว้ล่วงหน้า  อาศัยการกะระยะและการตัดสินใจที่ฉับไวในการถ่ายภาพ  แต่ต้องอย่าลืมเรื่องการจัดองค์ประกอบภาพเพื่อให้ภาพมีความงามและมีคุณค่า

ภาพรถจักรยานยนต์ วิ่งด้วยความเร็วสูง ใช้ความเร็วชัตเตอร์ 1/500 วินาที รูรับแสง F 5.6

 

 

ACTION

เป็นการใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำ  ถ่ายภาพวัตถุที่เคลื่อนไหวเพื่อให้เห็นถึงการเคลื่อนไหว  เพราะความเร็วชัตเตอร์ที่ช้า  จึงทำให้วัตถุที่ต้องการเน้นไม่ชัดเจน  พร่ามัว  จะใช้ความเร็วชัตเตอร์ช้ามากเพียงใดขึ้นอยู่กับความเร็วจองวัตถุที่เคลื่อนที่ผ่านเลนส์  ผู้ถ่ายภาพต้องสามารถประมาณความเร็วได้  ยิ่งช้ามากเท่าใด  ภาพยิ่งพร่ามัวมากเท่านั้น  แต่อย่ามากเกินไปเพราะจะทำให้มองไม่เห็นวัตถุที่ถ่ายให้ชัดเจน

สายน้ำ ที่อำเภอภูเวียง จ.ขอนแก่น  ดูนุ่มนวล ด้วยความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำ 1/8 วินาที ใช้ขาตั้งกล้องช่วย

 

 

PANNING

เป็นการใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำ  ถ่ายภาพเคลื่อนไหวเหมือนกับภาพ acti-on  แต่จะใช้เทคนิคการแพนหรือการส่ายกล้องตามวัตถุที่เคลื่อนที่ และกดชัต-เตอร์ขณะที่ส่ายกล้อง  ทำให้วัตถุที่ต้องการเน้นนิ่งเห็นรายละเอียดมากยิ่งขึ้น  แต่ฉากหน้าและฉากหลังที่นิ่งอยู่กับที่ลู่ตามวัตถุ  เป็นที่นิยมมากในการถ่ายภาพกีฬาประเภทต่างๆ

นักวิ่งลมกรด  การถ่ายภาพใช้ความเร็วชัตเตอร1/2  วินาที  รูรับแสง F 22

ส่ายกล้องตามนักกีฬา พร้อมกดชัตเตอร

 

 

CLOSE UP

เป็นการถ่ายภาพระยะใกล้เพื่อเน้นรายละเอียด หรือการถ่ายภาพวัตถุขนาดเล็ก  สามารถถ่ายโดยใช้ฟิลเตอร์ Close up ซึ่งมีลักษณะเป็นเลนส์ขยาย  จำหน่ายเป็นชุด ชุดละ 3 อัน  สามารถต่อกันได้  แต่ต้องระวังในการถ่ายเพราะภาพจะชัดเฉพาะตรงกลางภาพ  ส่วนด้านขอบของภาพจะไม่ชัดเพราะความโค้งของเลนส์  ยิ่งใช้ฟิลเตอร์หลายตัวยิ่งลดความคมชัดของภาพลง

ถ้าต้องการคุณภาพดี  ควรใช้เลนส์มาโคร  หรือเลนส์ถ่ายใกล้  จะให้รายละเอียดของภาพมากยิ่งขึ้น

การถ่ายภาพต้องระวังอย่าให้สั่นไหวเด็ดขาด  ควรใช้ขาตั้งกล้องและสายลั่นชัตเตอร์เข้าช่วย  หรือพยายามใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูง  จะช่วยได้มาก

ผีเสื้อและดอกไม้ (ยอดนิยม)  ถ่ายด้วยเลนส์มาโคร 55 มม.  ระยะห่าง 10 ซม.

โฟกัสที่ปลายไม้ และใช้สายลั่นชัตเตอร์ยาว

 

 

SILHOUETTE

เป็นเทคนิคการถ่ายภาพย้อนแสง  โดยจะไม่เห็นรายละเอียดของวัตถุ  ควรถ่ายในช่วงเช้า  หรือช่วงเย็นที่แสงแดดเริ่มอ่อน  อย่าวัดแสงกับดวงอาทิตย์ตรงๆ ควรวัดแสงที่ท้องฟ้า  เฉียง 45 องศากับดวงอาทิตย์  และลดรูรับแสงให้แคบลง 2-4 Stop หรือถ้าเป็นเวลาเย็นมาก  สามารถมองดวงอาทิตย์ด้วยตาเปล่าได้  ก็วัดแสงที่ดวงอาทิตย์ได้เลย

การถ่ายภาพประเภทนี้ต้องระวังเรื่องฉากหน้าและฉากหลังด้วย  เพราะจะทำให้รบกวนภาพทำให้ภาพดูรกตา

ภาพคอยใครเอ่ย ?    วัดแสงที่ท้องฟ้า ลด 2 Stop   ความเร็วชัตเตอร์ 1/250  วินาที รูรับแสง F 11

 

 

NIGHT PICTURE

หรือการถ่ายภาพไฟกลางคืนที่สวยงาม  จะได้ภาพที่แปลกตา

วิธีการถ่ายภาพ

1.ติดตั้งกล้องกับขาตั้งกล้องให้มั่นคง  พร้อมติดตั้งสายลั่นชัตเตอร์ให้พร้อม

2.ส่องกล้องหาทิศทางในการถ่ายภาพ  ให้ได้มุมที่เหมาะที่สุด

3.คาดคะเนสภาพแสง  เพื่อกำหนดเวลาและรูรับแสง (ถ้าเป็นไฟตามถนนปกติ  จะใช้ประมาณ 5.6 หรือ 8)

4.ตั้งความเร็วชัตเตอร์ที่ B ลั่นชัตเตอร์ค้างไว้ให้รถวิ่งผ่านจนเป็นที่พอใจ  ประมาณ 10-60 วินาที  หรือถ้าทิ้งช่วงเวลานาน  จะใช้ผ้าดำคลุมหน้าเลนส์ไว้ก่อนก็ได้

การถ่ายภาพไฟกลางคืน  ควรถ่ายเผื่อหลายๆ ภาพ  ใช้เวลาในการบันทึกภาพและขนาดรูรับแสงต่างๆ กัน และจดบันทึกไว้จะดีที่สุด  และควรฝึกหัดเป็นประจำเพราะต้องอาศัยความชำนาญสูงในการถ่ายภาพประเภทนี้

ภาพแสงแห่งความหวัง   ความเร็วชัตเตอร์ 15 วินาที  รูรับแสง F 8  เลนส์ 35-70 มม.

 

 

LOW KEY

ภาพที่มีโทนสีดำมาก  และมีสีตัดกันสูง  ภาพจะดูลึกลับ  สะดุดตา  น่าสนใจ  อาจใช้แสงจากธรรมชาติโดยแสงเข้าในทิศทางเดียว  หรือกระทบวัตถุที่จะถ่ายเพียงด้านเดียว  โดยวัดแสงที่จุดกระทบของแสง  คือ  วัดแสงใกล้ๆ กับวัตถุ  แล้วถอยกล้องออกมาถ่าย  โดยไม่ต้องปรับรูรับแสงหรือความเร็วชัตเตอร์อีก

ภาพคนลูกทุ่ง แสงจากหลอดทังสะเตน   วัดแสงที่ใบหน้า ผู้เป็นแบบ  ความเร็วชัตเตอร์ 1/15  วินาที  รูรับแสง F 1.4   เลนส์ 35-70 มม.

 

 

CREATIVE

สุดท้ายอยากให้ผู้สนใจ  ลองหามุมมองแปลกๆ สวยงาม น่าสนใจ มีความเป็นตัวของตัวเอง  เพราะจะช่วยทำให้ประสบความสำเร็จได้เร็วขึ้น  หลายครั้งที่เห็นนักถ่ายภาพไปถ่ายภาพในสถานที่ต่างๆ แล้วได้ภาพออกมาเหมือนกันหมด  หรือเป็นภาพมุมที่ส.ค.ส. หรือปฏิทิน ตีพิมพ์ออกมาให้เห็นจนชินตา